การอ่านแท็ป (Tablature)

    แท็ปเป็นวิธีการบันทึกที่เก่าแก่มาก สำหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เป็นความคิดริเริ่มของนัก

ดนตรีสเปนชื่อ Juan Carios Y.Amat ปัจจุบันได้ปรับปรุงให้ทันสมัยและง่ายขึ้นอีก ดังนี้คือ

1.  บันทึก 6 เส้น หมายถึงสายกีตาร์ทั้ง 6 เส้น

2.  ตัวเลขที่ทับเส้น แสดงช่อง (เฟร็ต) ตำแหน่งที่มือซ้ายกดบนสายตัวที่เลขทับอยู่


    จากรูป เป็นรูปของ Tab กีต้าร์ จะเห็นว่าเป็นเส้นตรง 6 เส้น ด้านซ้ายสุดจะเขียนว่า TAB ไว้เป็น

สัญลักษณ์ ทั้ง 6 เส้น จะแทนสายกีต้าร์ทั้ง 6 สาย โดยเส้นบนสุด แทนสายกีต้าร์สายที่ 1 ไล่ลงไปเรื่อยๆ

จนถึงเส้นที่อยู่ล่างสุด จะแทนสายกีต้าร์สายที่ 6 ตัวเลขที่อยู่บน TAB แสดงถึงเฟรทที่เราจะต้องกดว่าอยู่

เฟรทใด และบนสายใด ตัวอย่างเช่น เลข 7 บน เส้นที่ 3 หมายถึงเราจะต้องกดนิ้วที่เฟรทที่ 7 บนสายกี

ต้าร์สายที่ 3 นั่นเอง



   
    ลองหยิบกีต้าร์ขึ้นมาแล้ววางนิ้วตาม TAB ด้านบนดูซิ........

จะสังเกตุได้ว่าการเล่นตาม Tab ด้านบน จะเป็นการดีดพร้อมกันทั้งหมด (ทั้ง 6 สาย) ในลักษณะของ

การจับคอร์ดนั่นเอง

    คุ้นๆมั้ย สำหรับผู้ที่เคยเล่นกีต้าร์ตีคอร์ดมาบ้างแล้วคงร้องอ๋อ... เพราะความจริงมันก็คือ "คอร์ด Emaj"

หรือ เรียกสั้นๆว่า "คอร์ด E" นั่นเอง โดยถ้าเป็นสัญลักษณ์การจับคอร์ดก็จะเป็นรูปดังนี้



    ในรูปแบบของ TAB แล้ว โดยปกติจะไม่มีการบอกนิ้วที่กดในแต่ละสายว่าจะต้องใช้นิ้วใด อ้าว!

แล้วอย่างงี้จะรู้ได้อย่างไรล่ะ.... อันที่จริงแล้วลักษณะการวางนิ้ว มักจะเป็นไปโดยธรรมชาติ และคำนึงถึง

ความต่อเนื่องในการเล่น ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถฝึกเองได้ไม่ยาก

การจับคอร์ด Gmaj7

    วิธีจับคอร์ด Gmaj7 เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 2 และนิ้วกลางกดลงบนสาย 6 เฟร็ตที่ 3 

การจับคอร์ด G7

    วิธีจับคอร์ด G7 เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 1 ต่อด้วยนิ้วกลางกดลงบนสาย 5 เฟร็ตที่ 2 และนิ้วนางกดลงบนสาย 6 เฟร็ต 3

การจับคอร์ด G

    วิธีจับคอร์ด G เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วนางกดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 3 ต่อด้วยนิ้วชี้กดลงบนสาย 5 เฟร็ตที่ 2 และนิ้วกลางกดลงบนสาย 6 เฟร็ต 3

การจับคอร์ด Fmaj7

    วิธีจับคอร์ด Fmaj7 เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 1 ต่อด้วยนิ้วกลางกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 2 และนิ้วนางกดลงบนสาย 4 เฟร็ต 3

การจับคอร์ด F#m


    วิธีจับคอร์ด F#m เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 3 ต่อด้วยชี้กลางกดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 3 ต่อด้วยนิ้วชี้กดลงบนสาย 3 เฟร็ต 3 และนิ้วนางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 5

การจับคอร์ด Fm

    วิธีจับคอร์ด Fm เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 1 และนิ้วนางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 3 

การจับคอร์ด F

    วิธีจับคอร์ด F เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 1 ต่อด้วยนิ้วกลางกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 2 ต่อด้วยนิ้วก้อยกดลงบนสาย 4 เฟร็ต 3 และนิ้วนางกดลงบนสาย 5 เฟร็ตที่ 3

การจับคอร์ด Em7

    วิธีจับคอร์ด Em7 เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วนางกดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 3 ต่อด้วยนิ้วกลางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 2 และนิ้วชี้กดลงบนสาย 5 เฟร็ตที่ 2

การจับคอร์ด Em

    วิธีจับคอร์ด Em เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วกลางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 2 และนิ้วชี้กดลงบนสาย 5 เฟร็ตที่ 2 

การจับคอร์ด E

    วิธีจับคอร์ด E เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 1 ต่อด้วยนิ้วนางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 2 และนิ้วกลางกดลงบนสาย 5 เฟร็ตที่ 2

การจับคอร์ด Dmaj7

    วิธีจับคอร์ด Dmaj7 เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 1 ต่อด้วยนิ้วชี้กดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 1 และนิ้วชี้กดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 1

การจับคอร์ด Dm7

    วิธีจับคอร์ด Dm7 เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 1 ต่อด้วยนิ้วชี้กดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 1 และนิ้วกลางกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 2

การจับคอร์ด Dm

    วิธีจับคอร์ด Dm เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 1 ต่อด้วยนิ้วนางกดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 3 และนิ้วกลางกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 2

การจับคอร์ด D7

    วิธีจับคอร์ด D7 เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วนางกดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 2 ต่อด้วยนิ้วชี้กดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 1 และนิ้วกลางกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 2

การจับคอร์ด D


    วิธีจับคอร์ด D เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วกลางกดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 2 ต่อด้วยนิ้วนางกดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 3 และนิ้วชี้กดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 2

การจับคอร์ด Cmaj7

    วิธีจับคอร์ด Cmaj7 เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 2 และต่อด้วยนิ้วกลางกดลงบนสาย 5 เฟร็ตที่ 3 

การจับคอร์ด Cm

     วิธีจับคอร์ด Cm เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 3 ต่อด้วยนิ้วกลางกดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 4 ต่อนิ้วก้อยกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 5 และนิ้วนางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 5

การจับคอร์ด C7

     วิธีจับคอร์ด C7 เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 1 ต่อด้วยนิ้วก้อยกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 3 ต่อนิ้วกลางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 2 และนิ้วนางกดลงบนสาย 5 เฟร็ตที่ 3

การจับคอร์ด C#m (แบบง่าย)

    วิธีจับคอร์ด C#m  เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 4 ต่อด้วยนิ้วกลางกดลงบนสาย 2เฟร็ตที่ 5 ต่อนิ้วก้อยกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 6 และนิ้วนางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 6

การจับคอร์ด C#m


     วิธีจับคอร์ด C#m เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วกลางกดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 5 ต่อด้วยนิ้วก้อยกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 6 ต่อนิ้วนางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 6 และนิ้วชี้กดลงบนสาย 5 เฟร็ตที่ 4

การจับคอร์ด C

    วิธีจับคอร์ด C เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 1 ต่อด้วยนิ้วกลางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 2 และนิ้วนางกดลงบนสาย 5 เฟร็ตที่ 3

การจับคอร์ด C#


    วิธีจับคอร์ด C# เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 4 ต่อด้วยนิ้วก้อยกดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 6 ต่อนิ้วนางกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 6 และนิ้วกลางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 6

การจับคอร์ด Bm


    วิธีจับคอร์ด Bm เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 2 ต่อด้วยนิ้วกลางกดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 3 และนิ้วก้อยกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 4 และนิ้วนางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 4

การจับคอร์ด Bb

    วิธีจับคอร์ด Bb เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 1 ต่อด้วยนิ้วก้อยกดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 3 และนิ้วนางกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 3 และนิ้วกลางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 3

การจับคอร์ด B

    วิธีจับคอร์ด B เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 1 เฟร็ตที่ 2 ต่อด้วยนิ้วก้อยกดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 4 และนิ้วนางกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 4 และนิ้วกลางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 4

การจับคอร์ด Amaj7

    วิธีจับคอร์ด Amaj7 เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วนางกดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 2 ต่อด้วยนิ้วชี้กดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 1 และนิ้วกลางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 2

การจับคอร์ด Am7

    วิธีจับคอร์ด Am7 เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 1 ต่อด้วยนิ้วกลางกดลงบนสาย 4เฟร็ตที่ 2

การจับคอร์ด Am


    วิธีจับคอร์ด Am เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วชี้กดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 1 ต่อด้วยนิ้วนางกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 2 และนิ้วกลางกดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 2

การจับคอร์ด A7


    วิธีจับคอร์ด A7 เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วกลางกดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 2 ต่อด้วยนิ้วชี้กดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 2

การจับคอร์ด A


    วิธีจับคอร์ด A เริ่มต้นด้วยการใช้นิ้วนางกดลงบนสาย 2 เฟร็ตที่ 2 ต่อด้วยนิ้วกลางกดลงบนสาย 3 เฟร็ตที่ 2 และนิ้วชี้กดลงบนสาย 4 เฟร็ตที่ 2



หลักวิธีการเล่นกีตาร์และการใช้ปิ๊ค

ขั้นตอนการจับคอร์ด
   
     มาถึงตรงนี้กีตาร์ของทุกคนน่าจะตั้งสายกันได้เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะเล่นกีตาร์กันซะที!! แต่ก่อนจะเล่นดูไดอะแกรมนี้ก่อนละกัน....




    เราเรียกมันว่าตางรางคอร์ด (Chord Windows) มันคือภาพฟิงเกอร์บอร์ดจำลองจากกีตาร์นั่นเอง เส้นที่ตั้งคือสายกีตาร์ทั้ง 6 สาย จากซ้ายไปขวา (6 ไป 1)



    เส้นนอน 6 เส้นคือเฟร็ต (เพียงส่วนหนึ่งของคอกีตาร์ไม่ใช่ทั้งหมด) ส่วนเส้นหนาคู่บนสุดคือนัท

การใช้ปิ๊ค
   
   ปิ๊คมีขนาดและรูปร่างหลายต่อหลายแบบ แต่ลักษณะโดยรวมแล้วจะเป็นแผ่นบางๆ ส่วนมากจะทำ

จากวัสดุสังเคราะห์ปิ๊คที่ดีนั้นจะต้องมีความยืดหยุ่นพอสมควร ไม่เปราะหรือหักง่าย ไม่เป็นอันตรายต่อ

สายกีตาร์ ส่วนเรื่องขนาดก็ต้องขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน ความหนาของปิ๊คนั้นแบ่งออกเป็น 3

ขนาด
    ปิ๊คอย่างบาง (T-Thin) ใช้สำหรับการตีคอร์ดให้เสียงนิ่มนวล หรืออาจจะใช้โซโล่ ก็จะให้เสียงที่ค่อน

ข้างใสบาง
    ปิ๊คอย่างกลาง (M-Medium) เหมาะที่จะใช้ทั้งการเล่นคอร์ดและโซโล่ ให้เสียงหนักเบาได้ตามต้องการ
   
    ปิ๊คอย่างหนา (H-Heavy) ใช้ในการดีดเบส หรือการเล่นที่ต้องดีดแรงๆ ถ้านำมาใช้โซโล่ก็จะให้เสียง

หนักแน่นดี


             
   
    ในการจับปิ๊คนั้น คุณไม่ควรจับแน่นหรือหลวมจนเกินไป ให้ลองจับตามภาพแล้วใช้ปลายปิ๊คกรีดลงบน

สายกีตาร์ทั้งขึ้นและลง ถ้าปิ๊คหลุดมือแสดงว่าจับหลวมเกินไปให้เพิ่มแรงทีละนิดจนกว่าปิ๊คจะไม่หลุดมือ

แต่ต้องไม่แน่นจนเกินไปคือให้ตัวปิ๊คสามารถขยับขึ้นลงได้ตามแนวทางที่ดีด เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ

เพราะน้ำหนักในการจับปิ๊คและความสัมพันธ์กับน้ำหนักในการดีดนั้นมีผลอย่างมากกับเสียงที่ออกมา

เพราะฉะนั้นคุณจำเป็นจะต้องฝึกให้ชำนาญไว้เพื่อความสมบูรณ์ในการเล่น
   
    นอกเหนือจากการจับที่ถูกต้องแล้ว การเล่นก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ลักษณะการสับปิ๊คลงบนสายกีตาร์นั้น

ควรใช้วิธีสะบัดข้อมือขึ้นลง ลองฝึกให้ชินแล้วจะเห็นผลได้อย่างชัดเจนเมื่อคุณได้ตีคอร์ดในเพลงที่มี

จังหวะเร็วๆ

การรักษาสายกีตาร์และกีตาร์

การรักษากีตาร์
   
    ถ้าเกิดว่าผัเล่นเป็ฯคนที่ทะนุถนอมกีตาร์อย่างมากกีตาร์ก็จะสามารถมีอายุการใช้งานไปได้อีกหลายปี

ต่อไปนี้เป็นข้อปลีกย่อยเล็กๆ น้อยๆ ที่ควรรู้เกี่ยวกับการรักษากีตาร์ซึ่งส่วนใหญ่แล้วน่าจะเป็นอะไรที่รู้กัน

อยู่แล้ว
   
    คำแนะนำจากผุ้ผลิตกีตาร์เกี่ยวกับความปลอดภัยจากความชื้นโดยเทียบเคียงมีประมาณ 65 – 85

เปอร์เซ็นต์ ทั้งสายกีตาร์สายเหล็กและลายไนลอน การรักษาสภาพอากาศที่ดีสำหรับกีตาร์ของท่านก็

เพียงการใช้ความเอาใจใส่นิดหน่อยเท่านั้น ถ้าในสภาพอากาศปานกลางไปจนถึงอบอ้าวให้วางผ้าชุบน้ำ

บิดให้หมาด หรือที่ทำความชื้นของกีตาร์ที่ราคาถูกๆ ไว้ในช่องสายของกล่องกีตาร์ เพื่อไม่ให้กีตาร์มี

สภาพอบอ้าวเกินไป ส่วนในสภาพอากาศชื้นแฉะควรมีที่ดุดความชื้นอันเล็กๆ เจ้าตัวนี้จะช่วยให้กีตาร์รับ

ความชื้นมากเกินไป และสำหรับเจ้าของกีต้าที่ทะนุถนอมกีตาร์อย่างรุนแรงควรจะมีเครื่องวัดความชื้น

(Hygrometer) ติดไว้ในกล่องสักอันเพื่อเป็นการเตือนที่แม่นยำ


Barney Kessel ยอดนักกีตาร์แจ๊ซเคยกล่าวเอาไว้ว่า“สายกีตาร์ก็คือชีวิตจิตใจของกีตาร์นั่นเอง”
     ทั้งสายไนลออนและสายเหล็กจะสึกหรอไปในที่สุด ตรงจุดที่มันถูกกคลงไปติดกับเฟร็ต สายไนลอน

จะสึกเร็วกว่าสายเหล็ก และที่สายกีตาร์ชุดเก่าๆ อาจสังเกตเห็นรอยขาดตรงตำแหน่งที่เล่นบ่อยที่สุด

สายเหล็กจะมีปัญหาเรื่องการเป็นสนิม และผุกร่อนจากความชื้นในอากาศ ถึงแม้ว่ากีตาร์จะอยู่ในที่เก็บ

แล้วก็ตาม แต่เหงื่อจากมือของนักกีตาร์ยังมีส่วนทำให้สายเสื่อมลงได้

    หาผ้าแห้งนุ่มๆ ที่ไม่เป็นสำลีติดไว้ในกล่องกีตาร์สักผืนหนึ่ง หลังการเล่นทุกครั้งควรใช้ผ้าเช็ดสายให้

ทั่วโดยการสอดผ้าเข้าไปในระหว่างสายและฟิงเกอร์บอร์ด และรูดไปตามความยาวของกีตาร์ อย่าใช้ผ้า

เปียกเพราะแทนที่จะดีขึ้นมันกลับจะทำให้แย่ลง ซึ่งความเปียกชื้นจะทำให้สายเกิดสนิมและอาจทำให้เกด

การโค้งงอขึ้นได้ตรงฟิงเกอร์บอร์ด นักกีตาร์ที่มีเหงื่อออกมากน่าจะเช็ดสายสักนิดหลังจากการเล่นทุก

เพลง บางคนใช้แป้งผงสำหรับโรยเพื่อให้มือแห้ง ระวังอย่าให้สายไปถูกจาระบีหรือน้ำมัน เพราะพวกนี้

ส่วนมากจะทำลายเสียงของสายกีตาร์ และเป็นที่รู้กันดีว่าจะทำให้ใยหุ้มรอบนอกเกิดการคลายตัว ส่วน

Isopropul Alcohol หรือน้ำมันไฟแช็กธรรมดาๆ จะช่วยชำระฝุ่นละออง หรือคาบสกปรกที่ติดอยู่กับสายให้

หมด

การตั้งสายกีตาร์ (Tuning Guitar)

เทียบเสียงแบบมาตรฐาน
    ถ้าไม่มีเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ อยู่ในบ้านเลย ก็คงต้องพึ่งตัวเองแล้วล่ะ และวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือวิธีการนี้…….


    กดสาย 6 (E) ตรงเฟร็ตที่ 5 แล้วดีดทั้งสาย 6 และ สาย 5 (A) เปล่า จากนั้นก็เทียบดูว่าโน๊ตเสียงของสาย 6 เท่ากันกับโน๊ตของเสียงสาย 5 รึเปล่า หากไม่เท่ากันก็ให้หมุนลูกบิดของสาย 5 ปรับไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเท่ากัน
   
    กดสาย 5 (A) ตรงเฟร็ตที่ 5 แล้วดีดทั้งสาย 5 และ สาย 4 (D) เปล่า จากนั้นก็เทียบดูว่าโน๊ตเสียงของสาย 5 เข้ากันกับโน๊ตของเสียงสาย 4 รึเปล่า หากไม่เท่ากันก็ให้หมุนลูกบิดของสาย 4 ปรับไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเท่ากัน
   
    กดสาย 4 (D) ตรงเฟร็ตที่ 5 แล้วดีดทั้งสาย 4 และ สาย 3 (G) เปล่า จากนั้นก็เทียบดูว่าโน๊ตเสียงของสาย 4 เท่ากันกับโน๊ตของเสียงสาย 3 รึเปล่า หากไม่เท่ากันก็ให้หมุนลูกบิดของสาย 3 ปรับไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเท่ากัน
   
    กดสาย 3 (G) ตรงเฟร็ตที่ 5 แล้วดีดทั้งสาย 4 แล้วดีดทั้งสามสาย และสาย 2 (B) เปล่า จากนั้นก็เทียบดูว่าโน๊ตเสียงของสาย 3 เท่ากันกับโน๊ตของเสียงสาย 2 รึเปล่า หากไม่เท่ากันก็ให้หมุนลูกบิดของสาย 2 ปรับไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเท่ากัน
   
    กดสาย 2 (B) ตรงเฟร็ตที่ 5 แล้วดีดทั้ง 2 สาย และสาย 1 (E) เปล่า จากนั้นก็เทียบดูว่าโน๊ตเสียงของสาย 2 เท่ากันกับโน๊ตของเสียงสาย 1 รึเปล่า หากไม่เท่ากันก็ให้หมุนลูกบิดของสาย 1 ปรับไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเท่ากัน
   
    มาถึงตรงนี้ให้เช็กดูว่าสาย 1 (E) เท่ากันกับสาย 6 สายเปล่า (E) รึเปล่า (โน๊ต 2 ตัวนี้ห่างกัน 2
อ็อกเตฟ) โดยการดีดทั้งสองสายว่าเสียงเท่ากันรึเปล่าหากไม่เท่ากันให้ทำขั้นตอนต่อไปนี้


เทียบเสียงกับสายเดียว
    ถ้าหากพบว่าสาย E ทั้ง 2 เส้นมีเสียงโน๊ตที่ไม่เท่ากัน ซึ่งวิธีการด้านบนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ (อย่างรวดเร็ว) วิธีนี้ช่วยแก้ปัญหาให้คุณได้……
   
    ขั้นแรกเทียบเสียงสาย 5 (A) จากนั้นก็กดสาย 6 (E) ตรงเฟร็ตที่ 5 แล้วดีดปรับให้เท่ากันที่สุดไม่ควรมีเสียงเป็นห้วง สำหรับการเทียบโน๊ตที่ตรงตัวกันแบบนี้ถึงแม้จะห่างกัน 1 อ็อกเตฟก็ตาม
   
    ต่อไปกดสาย 4 (D) ตรงเฟร็ตที่ 7 เราก็จะได้โน๊ต A ปรับให้ตรงเสียง
   
    กดสาย 3 (G) ตรงเฟร็ตที่ 2 ก็จะได้โน๊ต A เช่นกัน กดสาย 2ตรงเฟร็ตที่ 10 ก็จะได้โน๊ต A กดสาย 1 ตรงเฟร็ตที่ 5 ก็จะได้โน๊ต A เช่นกัน
   

ความเป็นมาของกีตาร์และประเภทของกีตาร์

     กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับการที่จะสืบค้นให้แน่ชัดว่าเริ่มมาจากที่ใด แต่ที่จะเด่นชัดที่สุดก็คงเริ่มตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 15 ที่ได้เกิดเครื่องสายกลุ่มหนึ่งขึ้นมา ใช้ชื่อว่า "ไวโอลวิเวล่า" และ "ลูท" ซึ่งไวโอลวิเวล่านี้เองยังแยกออกเป็น 3 แบบคือ
   
     1.วิเวล่า เดอ อาร์โด (Vihuela De Arco) การเล่นใช้คันสีคล้ายกับไวโอลินในปัจจุบัน



   
     2.วิเวล่า เดอ เพนโญล่า (Vihuela De Penola) มีลักษณะการเล่นด้วยวิธีเอาไม้แผ่นบางๆ ดีดลงไปบนสายคล้ายกับการใช้ปิ๊คในปัจจุบัน







   
     3.วิเวล่า เอา มาโน (Vihuela De Mano) การใช้นิ้วเกี่ยวหรือดีดลงบนสาย



  
     วิเวล่านั้นถือกำเนิดขึ้นในประเทศสเปน มีลำตัวคล้ายกับกีต้าร์ในปัจจุบัน แต่มีขนาดเล็กกว่า เฟร็ตที่คอใช้เอ็นรัดไว้รอบคอ วิวเล่าในแบบที่ใช้คันสีและใช้ไม้แผ่นบางๆ ดีดนั้นจะได้รับความนิยมมากกว่าแบบที่ใช้นิ้ว แต่พอเข้าสู่ต้นศตวรรษที่ 16 แบบที่ใช้นิ้วดีดกลับมาเป็นที่นิยมของนักดนตรีทั้งในประเทศสเปนและอิตาลี
   
    หลังจากนั้นกีตาร์ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาแต่มีขนาดเล็กกว่าวิวเล่าที่มีสายอยู่ 6 ชุด (สองสายเท่ากับหนึ่งชุด) ต่อมาประเทศสเปนได้ทำกีตาร์สาย 5 ชุด ให้ชื่อว่า "กีตาร์แห่งสเปน"
   
    ศตวรรษที่ 18 กีตาร์ก็ได้ถูกเปลี่ยนจากสาย 4-5 ชุดมาเป็นสายเดี่ยว 6 เส้น จนถึงทุกวันนี้ เมื่อปี
ค.ศ.1929 ไฮเทอร์ วีญา-โลโบส (Heitor Villo-Lobos) เล่นกีตาร์โดยการเล่นด้วยวิธีเคลื่อนรูปคอร์ดขึ้นลงบนฟิงเกอร์บอร์ด รวมทั้งการเล่นสายเปิด นอกจากนั้นยังมีรูปแบบการเล่นอาร์เพจจิโอ (Arpeggio) ด้วย
    
    จากวิวัฒนาการตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ทำให้กีตาร์เกิดความหลากหลายในการเล่นของตัวมันเองจนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนมากเมื่อประเทศทางแถบตะวันตกและอเมริกาใต้เริ่มใช้กีตาร์ประกอบการเต้นรำ เทคนิคต่างๆ ก็ได้ถูกนำมาใช้โดยเลียนแบบการเล่นแบนโจของพวกนิโกร นักดนตรีส่วนมากเริ่มค้นพบว่ากีตาร์สามารถเข้ากับเพลงเขาได้ดีกว่าแบนโจ ทำให้ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นกับกีตาร์คือการเปลี่ยนจากสายเอ็น 
(Gut String) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสายไนลอน (Nylon String) และมาเป็นสายเหล็ก (Steel String) ในปัจจุบัน

ประเภทของกีตาร์
   
   
    กีตาร์นั้นมีมากมายหลายประเภท แต่จะกล่าวถึงกีตาร์โปร่ง กีตาร์อะคูสติก (Acoustic Guitar) ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะเสียงที่เป็นธรมมชาติ และยังเหมาะสมกับผู้ที่เริ่มจะฝึกหัดเครื่องดนตรีชนิดนี้ เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นมืออาชีพ
    1.กีตาร์คลาสสิค (Classical Guitar)
    2.กีตาร์โฟล์ค (Folk Guitar)
กีตาร์คลาสสิค(Classical Guitar)


   
    ตามหลักฐานที่พิสูจน์ได้ในอดีตนั้น บ่งบอกว่ากีตาร์คลาสสิคนั้นถือเป็นต้นกำเนิดของกีตาร์ในปัจจุบัน ซึ่งจะมีลักษะณะดังนี้
    - ส่วนหัว (Head) เป็นไม่ที่มีรูเจาะเป็นช่องยาว 2 ช่อง โดยในช่องที่ว่านี้มีไว้สำหรับใส่สายกีตาร์ ส่วนใหญ่ทำจากสายพลาสติกอย่างดี หรือวัสดุจำพวกระดูกและงาช้าง มีปลายยื่นออกมาด้านหลังก็เป็นลูกบิด 6 อัน (หรือมากกว่า) และเมื่อวางกีตาร์ในแนวนอน ลูกบิดจะตั้งฉากกับพื้น
    - ส่วนคอ (Neck) กีตาร์คลาสสิคนั้นจะมีขนาดของคอที่ใหญ่กว่ากีตาร์อื่นๆ ไม้ที่ส่วนคอจะตรงและมีขนาดทกันตั้งแต่ส่วนบนสุดถึงล่างสุดของคอ จำนวนเฟร็ตถ้านับจากจุดต่อลำตัวมี 12 เฟร็ต และบริเวณฟิงเกอร์บอร์ดมักจะไม่มีจุด (Inlay) บอกตำแหน่งเฟร็ตแต่อาจจะมีจุดบริเสณสันคอกีตาร์แทน
    - ลำตัว (Body) เป็นส่วนที่ยึดติดกับคอกีตาร์ตั้งแต่เฟร็ตที่ 12 เข้ามาในกล่องเสียง (Sound Hole) มีลักษณะด้านหน้าเรียบ มีรูกลมเป็นโพรงอยู่ต่อจากด้านล่างสุดของคอ ส่วนด้านล่างของโพรงเสียงจะมีบริดจ์ (Bridge) ที่จะเป็นตัวยึดสายกีตาร์ไว้กับลำตัวด้านหน้า
    - สายกีตาร์ (String) ส่วนมากแล้ว สาย 1 – 3 จะใช้สายไนลอน ส่วนสาย 4 – 6 (สายเบส) จะใช้สายที่พันด้วยเส้นโลหะเล็กๆ เช่น ทองแดง บรอนซ์ เป็นต้น
กีตาร์โฟล์ค (Folk Guitar)



ลักษณะของกีตาร์โฟล์ค
    -  ส่วนหัว (Head) มีลูกบิดที่แกนหมุนโดยมากทำจากโลหะ และเมื่อวางกีตาร์ในแนวนอน ส่วนมากลูกบิดจะขนานไปกับพื้น
    - ส่วนคอ (Neck) คอของกีตาร์โฟล์คนั้นค่อนข้างเล็กด้านหลังคอจะโค้งมน มีจุดบอกตำแหน่งเฟร็ต ที่ 3 / 5 / 7 / 12 บนฟิงเกอร์บอร์ด นับเฟร็ตจากส่วนบนจนถึงบริเวณต่อลำตัวมี 14 เฟร็ต
    - ลำตัว (Body) มีลักษณะค่อนข้างแบน มีบริดจ์ที่ (อาจจะ) สามารถปรับระดับความสูงได้ติดอยู่ด้านล่างของกล่องเสียง สายที่ใช้จะเป็นสายเหล็กวางชิดกันกว่ากีตาร์คลาสสิค รูปร่างขนาดแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมและรสนิยมของผู้เล่น ส่วนมากนิยมใช้ขนากใหญ่ (Dreadnought) เพราะจะให้เสียงที่กังวานกว่า ละในปัจจุบันมีบริษัทกีตาร์ ได้ทำการผลิตกีตาร์ที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์คลาสสิคแต่ใช้สายเหล็กหรือสายไนลอนก็ได้แต่จะมีแกนหมุนสายที่ทำจากเหล็ก เราเรียกกีตาร์ชนิดนี้ว่า "Round Hole Folk Guitar"